งานบริการของ สยจ.ลำปาง
กรณีที่ ๑ การให้ข้อมูล/คำปรึกษา มี ๒๑ งานบริการ ของ ๙ ส่วนราชการ ดังนี้
ส่วนราชการ | งานบริการ |
กรมคุมประพฤติ |
๑. การขอรับการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย |
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ |
คลินิกยุติธรรม |
กรมบังคับคดี |
๖. การยื่นคำร้องขอวางทรัพย์ |
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน |
๘. การขอปล่อยตัวชั่วคราว |
กรมราชทัณฑ์ |
๙. การขออนุญาตวิจัย |
กรมสอบสวนคดีพิเศษ |
๑๔.การรับแจ้งข้อมูลเบาะแสของผู้กระทำความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ |
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ |
๑๕. การรับแจ้งบุคคลสูญหาย |
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด |
๑๙. การรับแจ้งเบาะแสผู้ค้า แหล่งมั่วสุม พื้นที่แพร่ระบาด แหล่งผลิตและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด |
สำนักงานกิจการยุติธรรม |
๒๐. การขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนยุติธรรม |
โดยผู้ใช้บริการสามารถขอรับข้อมูลหรือขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำได้ทั้ง ๒๑ งานบริการ
กรณีที่ ๒ การรับเรื่องขออนุมัติ/ขออนุญาต มี ๔ งานบริการ ของ ๒ ส่วนราชการ ดังนี้
ส่วนราชการ | งานบริการ |
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ |
๑. การขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา |
สำนักงานกิจการยุติธรรม |
๓. การขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนยุติธรรม |
โดยผู้ใช้บริการสามารถยื่นเรื่องขออนุมัติ หรือขออนุญาต แล้วแต่กรณี ได้จำนวน ๔ งานบริการดังกล่าวนี้ สำหรับศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่รับเรื่องและประสานงานส่งต่อคำขออนุมัติ หรือคำขออนุญาต นั้น พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ ไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพื่อดำเนินการพิจารณาอนุมัติ หรืออนุญาตตามอำนาจหน้าที่ จากนั้นศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อสอบถามความคืบหน้าผลการดำเนินงาน และแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบตามลำดับ หรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องอาจจะแจ้งความคืบหน้าผลการดำเนินงานให้ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม ทราบเป็นระยะๆตามความเหมาะสม เพื่อจะได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบต่อไป
กรณีที่ ๓ การรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/รับแจ้งเบาะแส มี ๓ งาน จาก ๓ ส่วนราชการ ดังนี้
ส่วนราชการ | งานบริการ |
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ |
๑. การรับเรื่องราวร้องทุกข์ |
กรมสอบสวนคดีพิเศษ |
๒. การรับแจ้งข้อมูล เบาะแสของผู้กระทำความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ |
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด |
๓. การรับแจ้งเบาะแสผู้ค้า แหล่งมั่วสุม พื้นที่แพร่ระบาด แหล่งผลิต และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด |
โดยผู้ใช้บริการสามารถยื่นเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสข้อมูล ได้จำนวน ๓ งานบริการดังกล่าวนี้ สำหรับศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่รับเรื่องและพิจารณาแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นหากเกินความสามารถให้ประสานงานส่งเรื่องไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จากนั้นศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพื่อสอบถามความคืบหน้าผลการดำเนินงาน แล้วแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบตามลำดับหรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องอาจจะแจ้งความคืบหน้าผลการดำเนินงานให้ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรมทราบเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม เพื่อจะได้แจ้งให้ผู้บริการทราบต่อไปในการแจ้งผลความคืบหน้าของการดำเนินงานแก่ผู้ใช้บริการทั้งในกรณีที่ ๒ และกรณีที่๓จะต้องยึดตามแนวทางพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖กล่าวคือเมื่อหน่วยงานเจ้าของเรื่องดำเนินการแล้วเสร็จ หรือมีเหตุจำเป็นที่ต้องดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนดจะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบโดยตรงหรือผ่านศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม โดยแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงสถานะของงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค (ถ้ามี) ภายใน ๑๕ วัน